โคเออร์แม่สะเรียงและแม่สอดสนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน

   วัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ เป็นต้น มูลนิธิโคเออร์ เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุในพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบ ในฐานะผู้สืบสานวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน จึงได้สนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้ถ่ายทอดขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และวิถีชีวิตที่ดีงามสู่คนรุ่นใหม่ นชุมชนให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมสืบต่อไป โดยใช้สำนักงานบริการสังคมของโคเออร์เป็นศูนย์วัฒนธรรมในชุมชน โดยเป็นแหล่งนัดพบสำหรับผู้สูงอายุที่มาร่วมทำกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับอนุชนรุ่นปัจจุบันตลอดมา โดยในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2563 นี้ มีกิจกรรมที่ดำเนินการอนุรักษ์และสืบทอด ในด้าน งานจักสานไม้ไผ่เป็นของใช้ในบ้าน การทอผ้า การเล่านิทานพื้นบ้าน และอนุรักษ์กลอน การทำอาหารสูตรดั้งเดิม การอบสมุนไพร ฯลฯ

   โคเออร์แม่สะเรียงจัดกิจกรรมการอนุรักษ์ประเพณีของชาวกะเหรี่ยงในเรื่องเกี่ยวกับการถอดบทเพลงพื้นบ้าน บทกลอนสอนใจ และสืบทอดภูมิปัญญาบรรพชนเรื่องเครื่องใช้และวิถีชีวิต ที่บ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 58 คน เป็นหญิงจำนวน 38 คน และชายจำนวน 20 คน และในวันที่ 14 มีนาคม มีผู้ร่วมกิจรรมจำนวน 39 คน เป็นหญิง 27 คน และ ชาย 12 คน ที่บ้านแม่ละอูน อำเภอสบเมย วันที่ 12 กุมภาพันธ์ มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน เป็นหญิงจำนวน 26 คน และ ชายจำนวน 14 คน และต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 34 คน เป็นหญิงจำนวน 23 คน และ ชายจำนวน 11 คน

   สำหรับโคเออร์แม่สอดได้สนับสนุนกิจกรรม “โครงการสืบสานวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน” ที่จัด ณ สำนักงานบริการสังคมของโคเออร์ จำนวน 12 ครั้ง โดยจัดที่บ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง บ้านอุ้มเปี้ยม อำเภอพบพระ และบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก แห่งละจำนวน 4 ครั้ง

โคเออร์จัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นที่ บ้านแม่หละ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก จำนวน 4 กิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1  “โครงการสืบสานวิถีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน” จัดขึ้นที่สำนักงานบริการสังคมของโคเออร์ที่บ้านแม่หละ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้สนใจร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมและวิถีชีวิตจำนวน 28 คน เป็นหญิง 21 คน และ ชาย 7 คน

กิจกรรมที่ 2  “โครงการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียนรู้เทคนิคและขั้นตอนการ - จักสานและจัดทำถังขยะจากไม้ไผ่” จัดขึ้นที่สำนักงานบริการสังคมของ โคเออร์ที่บ้านแม่หละ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 26 คน เป็นหญิงจำนวน 18 คน และชายจำนวน 8 คน

กิจกรรมที่ 3  “โครงการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน” เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องการนำประโยชน์ของสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ที่บ้านแม่หละ วันที่ 12 มีนาคม มีผู้เข้าร่วมจำนวน 20 คน เป็นหญิงจำนวน 17 คน และ ชายจำนวน 3 คน

กิจกรรมที่ 4  “โครงการถอดบทเพลงพื้นบ้าน” เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสาระของเพลง เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเพลงพื้นบ้าน อันเป็นสมบัติล้ำค่าของชุมชน สืบทอดศิลปวัฒนธรรมอันดีสู่คนรุ่นหลังให้ได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไปโดยจัดขึ้นที่บ้านแม่หละ วันที่ 24 มีนาคม 2563 มีผู้เข้าร่วมเป็นหญิงล้วนจำนวน 20 คน

โคเออร์จัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นที่ บ้านอุ้มเปี้ยม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 4 กิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 5  “โครงการสืบสานวัฒนธรรม - ถอดบทเพลงพื้นบ้าน” ที่พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านอุ้มเปี้ยม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 คน เป็นหญิงจำนวน 16 คนและชายจำนวน 9 คน

กิจกรรมที่ 6  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี การจัดตั้งเครื่องทอผ้ากะเหรี่ยงแบบกี่เอว” ที่บ้านอุ้มเปี้ยม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าด้วยเทคนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชาวกะเหรี่ยง เรียกว่า กี่เอว ที่มีการสืบทอดมายาวนานกว่าร้อยปี โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 คน เป็นหญิงจำนวน 22 คน และชายจำนวน 3 คน

กิจกรรมที่ 7  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี การทอผ้าด้วยกี่เอว” ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 คน เป็นหญิงจำนวน 23 คน และชายจำนวน 2 คน

กิจกรรมที่ 8  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี การทำแกงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง” (แกงตะกะโป๊ะ ) ซึ่งเป็นแกงที่ใช้ในงานพิธีกรรมสำคัญต่างๆ จัดขึ้นที่บ้านอุ้มเปี้ยม ในวันที่ 9 มีนาคม 2563 มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 26 คน เป็นหญิงจำนวน 19 คน และ ชายจำนวน 7 คน

โคเออร์แม่สอดจัดกิจกรรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านขึ้นที่ บ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก รวม 4 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 9  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี การตั้งเครื่องทอผ้าแบบกี่เอว” ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 25 คน เป็น หญิงจำนวน 20 คน และชายจำนวน 5 คน

กิจกรรมที่ 10  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ผ้าทอกะเหรี่ยง” ในพื้นที่พักพิงฯ บ้านนุโพ เมื่อในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 คน เป็นหญิงจำนวน 20 คน และชายจำนวน 5 คน

กิจกรรมที่ 11  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี การทำ “ข้าวงา”ซึ่งเป็นการประกอบอาหารที่ใช้ในพิธีกรรมสำคัญ หรือสำหรับใช้บริโภคในเวลาที่ต้องเดินทางไกลหรือเวลาไปทำนาไม่สามารถหุงข้าวได้ โดยจัดกิจกรรมในวันที่ 11 มีนาคม 2563 มีผู้ร่วมกิจกรรมจำนวน 26 คน เป็นหญิงจำนวน 24 คน และ ชายจำนวน 2 คน

กิจกรรมที่ 12  “โครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ร่วมจัดกิจกรรมวันเสาร์เพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน เรื่องการเย็บใบตองตึงหลังคาธรรมชาติ” เพื่อให้เด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสืนสานภูมิปัญญาดั้งเดิมในการเย็บใบตองตึงเป็นตับมุงหลังคากันแดดฝน และได้ช่วยซ่อมแซมหลังคาบ้านที่ทรุดโทรมอีกด้วย โดยจัดขึ้นที่ บ้านนุโพในวันที่ 13 มีนาคม 2563 มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมเรียนรู้จำนวน 50 คน เป็นหญิงจำนวน 41 คน และชายจำนวน 9 คน